mobilization

สรุปรายมาตรา ‘ร่าง พ.ร.บ.ช้างไทย’ ฉบับภาคประชาสังคม

ข่าว

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ และภาคประชาสังคม ร่วมกันเสนอ ‘ร่างพระราชบัญญัติปกป้องและคุ้มครองช้างไทย พ.ศ....’ หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘ร่าง พ.ร.บ.ช้างไทย’ ฉบับภาคประชาสังคม

*หมายเหตุ : ตัวเลขมาตราและรายละเอียดต่างๆ อาจถูกเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาร่างฯ และรับฟังความคิดเห็นในขั้นต่อๆ ไป

หมวด 1 การป้องกันการทารุณกรรมช้าง

มาตรา 6

ยกเลิกช้างเป็นสัตว์พาหนะตาม พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482

มาตรา 7

ห้ามทารุณกรรมช้าง เช่น ทุบตี ใช้ตะขอสับ บังคับให้ช้างทำตามคำสั่งที่ขัดต่อพฤติกรรม งดให้อาหารช้าง

มาตรา 8

กำหนดลักษณะการทารุณกรรมต่างๆ อย่างชัดเจน เช่น การฝึกอย่างโหดร้ายทุณ การทำร้ายร่างกายช้าง การนำช้างมาขี่ แสดงโชว์ เร่ร่อน การปล่อยปะละเลย

 

หมวด 2 การจัดสวัสดิภาพช้าง

มาตรา 9

การจัดสวัสดิภาพช้างต้องเหมาะสม ครอบคลุม ‘หลักอิสรภาพ 5 ประการ’

มาตรา 10

ต้องจัดหาอาหารให้ช้างอย่างเพียงพอ ทั้งปริมาณและคุณภาพตามโภชนาการ

มาตรา 11

ต้องจัดสถานที่เลี้ยงช้างให้ใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่ล่ามโซ่ช้างเป็นเวลานานและไม่ใช้โซ่ที่สั้นเกินไป

มาตรา 12

ต้องตรวจสุขภาพช้างเป็นประจำ ช้างเข้าถึงสัตวแพทย์ในกรณีเจ็บป่วย และบันทึกข้อมูลด้านสุชภาพของช้างไว้เสมอ

 

หมวด 3 คณะกรรมการช้างไทยแห่งชาติ

จัดตั้ง ‘คณะกรรมการช้างไทยแห่งชาติ’ โดยให้มีสัดส่วนสมาชิกให้มีตัวแทนจากรัฐบาล ส่วนราชการ ภาคประชาสังคม และผู้ทรงคุณวุฒิ

คณะกรรมการฯ สามารถกำหนดทิศทางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับช้าง และมีอำนาจเรียกหน่วยงานหรือบุคคลใดเข้าขี้แจง ให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือให้คำปรึกษา เกี่ยวกับช้างได้เมื่อเห็นสมควร

หมวด 4 สมัชชาช้างไทยแห่งชาติ

จัดตั้ง ‘สมัชชาช้างไทยแห่งชาติ’ ซึ่งจะประกอบด้วยตัวแทนในพื้นที่ทั่วประเทศที่ทำงานเกี่ยวข้องกับช้าง โดยให้สมัชชาฯ ปรึกษาหารือและจัดทำรายงานประจำปี ตลอดจนเสนอนโยบายไปยัง ‘คณะกรรมการช้างไทยแห่งชาติ’ เพื่อผลักดันให้เป็นนโยบายต่อไป

หมวด 5 กองทุนช้างไทย

มาตรา 27

จัดตั้ง ‘กองทุนช้างไทย’ ขึ้น และมีคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยเฉพาะ

มาตรา 28

แหล่งที่มาของเงินในกองทุนฯ ซึ่งรวมถึงงบประมาณภาครัฐ เอกชน เงินบริจาค ภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 29

กำหนดให้ใช้กองทุนฯ เพื่อการพัฒนา ‘ปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้าง’ ทั่วประเทศ การดูแลช้างของกลาง และการพัฒนาสวัสดิภาพช้างด้านอื่นๆ

 

หมวด 6 การเพาะพันธุ์ช้าง 

ห้ามไม่ให้ผสมพันธุ์ช้างเชิงพาณิชย์ โดยยกเว้นวัตถุประสงค์ด้านการอนุรักษ์เท่านั้น ห้ามขายหรือส่งออกน้ำเชื้อ เอ็มบริโอ หรือเซลล์ไข่ช้าง

หมวด 7 การส่งออกช้าง การครอบครองซากของช้างและผลิตภัณฑ์ช้าง

มาตรา 34

ห้ามส่งออกช้าง ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้าง ยกเว้นวัตถุประสงค์ด้านการศึกษาวิจัยเพื่อการคุ้มครองช้างหรือการอนุรักษ์ช้างที่กระทำโดยภาครัฐเท่านั้น

มาตรา 36

ห้ามซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่ายจ่ายแจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ซากของช้างและผลิตภัณฑ์ช้าง เพื่อประโยชน์ทางการค้า

มาตรา 38

ห้ามครอบครองซากของช้าง อวัยวะ ชิ้นส่วนของช้าง และผลิตภัณฑ์ช้าง หลังประกาศใช้ พ.ร.บ. นี้

 

หมวด 8 การแจ้งและการขึ้นทะเบียน

มาตรา 40

เมื่อช้างตกลูก ให้แจ้งเกิดภายใน 30 วัน เพื่อจัดทำบัตรประจำตัวช้าง

มาตรา 44

เมื่อช้างตาย ให้แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสวมทะเบียนหรือลักลอบค้าขายชิ้นส่วน

มาตรา 45

ห้ามปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ เว้นแต่ได้รับอนุมัติ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เหมาะสม

มาตรา 62

ผู้ที่จะประกอบอาชีพ ‘ควาญช้าง’ ต้องขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตก่อน

 

หมวด 9 การใช้และเพิกถอนใบอนุญาต 

เมื่อผู้ประกอบการกระทำความผิดเกี่ยวกับช้าง เจ้าหน้าที่รัฐสามารถพักใบอนุญาตประกอบการ และออกคำสั่งให้ผู้ประกอบการแก้ไขปัญหา ซึ่งหากผู้ประกอบการยังไม่ปฏิบัติตามและไม่แก้ไขปัญหา เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการเพิกถอนใบอนญาตได้ต่อไป

หมวด 11 บทลงโทษ

กำหนดบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดตามร่าง พ.ร.บ. นี้ไว้อย่างชัดเจนและสมเหตุสมผล

หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่าน ‘ร่าง พ.ร.บ.ช้างไทย’ ฉบับภาคประชาสังคม ฉบับเต็มได้ด้านล่าง หรือติดต่อองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกผ่านช่องทางต่างๆ ของเรา

ร่างพระราชบัญญัติช้าง

More about