Tourists take a ride on an elephant in Thailand

ความจริงของการทำฟาร์มพันธ์ุสัตว์ป่าทั่วโลก (Bred for profit: The truth about global wildlife farming)

เกิดมาเพื่อสร้างกำไร:

อ่านรายงาน Bred for profit

สัตว์ป่ากว่า 5.5 พันล้าัวจากทั่วโล

ถูกแสวงผลประโยชน์

 

ตั้งแต่ ถูกขายให้เป็นสัตว์เลี้ยง ถูกกักขังและถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างความบันเทิงตามสถานที่ท่องเที่ยว ชิ้นส่วนถูกนำมาเป็นสินค้าแฟชั่น เป็นอาหาร หรือยาแผนโบราณ

 

ไม่ว่าจะเป็นการทำฟาร์มสิงโตในแอฟริกาใต้ การทำฟาร์มหมีในประเทศจีน การผสมพันธุ์ช้างเชิงพาณิชย์ในปางช้างหรือสถานที่ท่องเที่ยวช้าง - อุตสาหกรรมเหล่านี้ สามารถดำเนินกิจการได้ เพราะช่องโหว่ของกฎหมายที่เอื้อให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากสัตว์ป่า และมองว่าสัตว์ป่าไม่ต่างอะไรกับ สินค้า

 

การทำฟาร์มสัตว์ป่าคือ

ปัญหาไม่ใช่ทางออก

 

สัตว์ป่าจะถูกกักขังและถูกผสมพันธุ์ในพื้นที่ปิดหรือที่เรียกว่าฟาร์มสัตว์ป่า มีสวัสดิภาพย่ำแย่ ต้องทนทุกข์กับภาวะขาดสารอาหาร โรคร้ายแรง ความเครียด บาดแผลติดเชื้อ หรือแม้แต่ตายก่อนวัยอันควร  

 

การค้าสัตว์ป่าจากทั่วโลกเพื่อการพาณิชย์มีมูลค่า 35,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนอกจากจะเป็นการทารุณสัตว์แล้ว ยังเสี่ยงต่อสุขภาพของคน เพราะการปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างคนกันสัตว์ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคระหว่างคนกับสัตว์ ยกตัวอย่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

 

 

การทำฟาร์มสัตว์ป่าไม่ใช่ทางออกที่จะลดความต้องการการลักลอบจับสัตว์ป่ามาใช้ประโยชน์ ในทางตรงกันข้าม กลับเพิ่มความเสี่ยงของการลักลอบจับสัตว์ป่าจากถิ่นที่อยู่ธรรมชาติ เพื่อนำมาผสมพันธุ์ ส่งขายไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าสู่วงจรของความทุกข์ทรมานย่างไม่มีที่สิ้นสุด 

 

กิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าจึงควรมุ่งไปที่การลดความต้องการใช้สัตว์ป่า ยุติการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า และส่งเสริมการกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสัตว์ป่า 

 

ถึงเวลาแล้วที่เราต้องช่วยกันหยุดสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าเชิงพาณิชย์  

 

อ่านรายงาน Bred for profit

 

การทำฟาร์มพันธ์ุสัตว์ป่า vs ผสมพันธุ์ช้างในประเทศไท

 

ช้าง ถือเป็นสัตว์ป่าที่ถูกเพาะพันธุ์ในสภาวะที่ถูกกักขังเพื่อใช้งานในธุรกิจท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวจะจ่ายเงินเพื่อทำกิจกรรมใกล้ชิดกับช้าง เช่น เล่นกับช้าง ป้อนอาหารช้าง ขี่ช้าง อาบน้ำช้าง หรือดูช้างแสดงเลียนแบบมนุษย์  

 

ากรายงานเรื่อง ช้าง ไม่ใช่สินค้า (“Elephants. Not Commodities.”) ขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2563 ระบุว่าจำนวนของช้างในธุรกิจท่องเที่ยวของไทยได้เพิ่มจาก 1,688 ตัว ในปี 2553 เป็น 2,798 ตัว ในปี 2563 จนอาจกล่าวได้ว่า การเติบโตของการท่องเที่ยวช้าง ทำให้มีลูกช้างเกิดขึ้นมาเข้ารับการฝึกเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวกว่า 1,100  ตัว หรือเพิ่มขึ้นถึง 70% ในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี

 

 

ลงชื่อสนับสนุนแคมเปญ

 

 

ปัญหาด้านสาธารณสุข

 

ช้างที่ถูกเลี้ยงในสภาวะที่ถูกกักขังมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นวัณโรค ซึ่งเชื้อวัณโรคสามารถแพร่กระจายไป-มาระหว่างคนกับช้าง หรือระหว่างช้างด้วยกันเอง ส่วนใหญ่การแพร่ระบาดของวัณโรคมักเกิดขึ้นในสถานที่ท่องเที่ยวช้างทีมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างช้างกับนักท่องเที่ยวหรือผู้ดูแล นอกจากนี้ ยังพบเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปร่า (Leptospira) ในปางช้าง ซึ่งเป็นต้นตอของโรคฉี่หนู สามารถแพร่กระจายสู่คนด้วยเช่นกัน 

 

 

ปัญหาด้านสวัสดิภาพของช้าง

 

ช้างที่ถูกกักขังและถูกใช้งานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับความเจ็บปวดจากการแบกนักท่องเที่ยว มักมีปัญหาที่ขาหรือเล็บเท้า เพราะต้องเดินบนพื้นที่แข็งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ขณะเดียวกัน มีการลงโทษที่รุนแรงเพื่อฝึกช้างให้แสดงโชว์ หรือเชื่อฟังคำสั่ง ทั้งหมดนี้ ส่งผลกระทบกับช้างทั้งทางร่างกายและจิตใจ เห็นได้จากการแสดงพฤติกรรมซ้ำๆ ของช้าง แบบไม่มีเป้าหมาย อย่างการเดินย่ำไปมาอยู่กับที่ หรือการโยกหัวไปมา ขึ้นลง

 

 

ช้างเป็นสัตว์ป่า ไม่ใช่สัตว์เลี้ยง

 

การแสวงหาผลประโยชน์จากการใช้ช้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ การต่อยอดความทุกข์ทรมานของช้างแบบไม่รู้จบ 

 

ปัญหาเรื่องการอนุรักษ์

 

การล่าหรือการลักลอบค้าช้างป่าเป็นสาเหตุของการลดลงของจำนวนประชากรช้างสายพันธุ์เอเชีย

 

ความต้องกาใช้ช้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวำให้ราคาช้างในปัจจุบัสูงถึงตัวละ 1.7 ล้านบาท แรงจูงใจนี้ทำให้ประเทศไทยเคยถูกขึ้นชื่อว่าเป็นจุดหมายปลายทางของการรับซื้อช้างป่าที่ถูกลักลอบจับและนำเข้าอย่างผิดกฎหมายจากเมียนม่า จนเมื่อเร็วๆ นี้ ภาคอุตสาหกรรมเริ่มปรับตัวและหันมาผสมพันธุ์ช้างเอง เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรช้างเลี้ยงเข้าสู่ระบบ

 

 

สำหรับความพยายามที่จะปล่อยช้างเลี้ยงที่ถูกกักขังคืนสู่ป่ายังมีปัญหาและต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร แหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติที่เหมาะสม และต้องทำงานร่วมกับคนในชุมชน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง (Human Elephant Conflict) เพราะฉะนั้นการเพิ่มจำนวนช้างเลี้ยงป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมจึงไม่มีผลต่อการอนุรักษ์สายพันธุ์ช้างป่า ในทางตรงกันข้าม กลับเพิ่มความเสี่ยงของการจับช้างในป่ามาสวมรอยเป็นช้างเลี้ยง เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ

 

 

มองอนาคต

 

การยุติการผสมพันธุ์ช้างเชิงพาณิชย์ และการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมสู่แนวทางที่ตอบโจทย์ในเชิงจริยธรรม คำนึงถึงสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของช้าง  ท้ายสุดแล้ว จะเป็นประโยชน์ทั้งกับคนและช้าง

 

ช้างเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน เรายังมีเวลาอีกชั่วอายุของพวกเขา ที่จะเริ่มวางแผนเตรียมการเพื่อหยุดวงจรของการนำช้างมาใช้ประโยชน์ในธุรกิจสร้างความบันเทิง โดย มองหาช่องทางประกอบอาชีพทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ แรงงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มองไปข้างหน้าถึงอนาคตที่คนจะเลิกกักขังและใช้ประโยชน์จากช้างเชิงพาณิชย์

 

ร่วมปฏิรูปวงการช้างไทย ลงชื่อเรียกร้องให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและภาครัฐ

 

  1. หยุดกิจกรรมท่องเที่ยวที่ทำร้ายช้าง
  2. ผ่านกฎหมายที่ปกป้องช้างอย่างแท้จริง
  3. เลิกสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวที่ใช้ช้างสร้างความบันเทิงและหันมาท่องเที่ยวแบบไม่ทำร้ายช้าง

 

ร่วมปฏิรูปวงการช้างไทย

 

 

 

คำถามที่พบบ่อย

Q: จริงหรือไม่ที่การทำฟาร์มสัตว์ป่าหรือการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าในภาวะที่ถูกกักขังเป็นช่องทางสร้างรายได้และอาชีพ?

ไม่เคยมีการเกบข้อมูลอย่างเป็นระบบวิเคราะห์ต้นทุนต่อผลตอบแทน (cost-benefit analysis) ของภาพรวมการทำฟาร์มสัตว์ป่า รายได้จากส่วนนี้ไม่สามารถเทียบได้กับความเสียหายระยะยาวของการค้าสัตว์ป่า เช่น งบประมาณด้านสาธารณสุขจาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อระหว่างคนกับสัตว์ป่า 

 

ขณะที่หลายคนมองว่าการทำฟาร์มสัตว์ป่าช่วยสร้างงานและลดปัญหาความยากจน แต่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า รายได้จากการค้าสัตว์ป่า ความจริงแล้วไม่ได้ถูกแบ่งสรรปันส่วนอย่างเท่าเทียมระหว่างคนตัวเล็กตัวน้อยในชุมชนกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบธุรกิจ  

Q: ทำไมถึงมองว่าการผสมพันธุ์ช้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นการทำฟาร์มสัตว์ป่า?

เมื่อมองแบบผิวเผิน ช้างเลี้ยงที่ถูกกักขังไว้ใช้งานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย อาจดูไม่เหมือนการทำฟาร์มสัตว์ป่าแบบทั่วๆ ไป จากข้อมูลระบุว่า ประเทศไทยมีำนวนประชากรช้างถูกผสมพันธุ์เชิงพาณิชย์ มีการซื้อขายส่งต่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำช้างไปใช้งา สร้างกำไร

 

ข้อสังเตที่ทำให้การผสมพันธุ์ช้างเลี้ยงอาจถูกมองว่าไม่เหมือนการทำฟาร์มสัตว์ซะทีเดียวคือ  ส่วนใหญ่เจ้าของจะครอบครองช้างจำนวนไม่มาก พราะช้างมีมูลค่าสูง อายุยืน และต้องใช้ทรัพยากรในการดูแลมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ

 

การผสมพันธุ์มักเริ่มจากการเช่าช้างพ่อพันธุ์ นำไปผสมพันธุ์กับช้างตัวเมีย ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี หากเกิดลูกช้าง ลูกช้างก็จะถูกขายต่อผ่านเครือข่ายของเจ้าของช้าง หรือแหล่งที่เชื่อว่าเป็นตลาดการค้าช้าง ส่วนแม่ช้างก็อาจถูกผสมพันธุ์อีกครั้ง  

Q: ทำไมถึงไม่มองว่าช้างเป็นสัตว์เลี้ยง?

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกไม่เห็นด้วยกับการเรียกช้างที่ถูกกักขังและใช้งานเพื่อความบันเทิงว่าเป็น ‘ช้างบ้านหรือเป็นสัตว์เลี้ยงที่ต้องอยู่ในความดูแลของคน เพราะช้างเป็นสัตว์ป่า ถึงจะผ่านกระบวนการผสมพันธุ์ในภาวะที่ถูกกักขังมาหลายชั่วอายุ ช้างก็ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับคนได้ ที่ผ่านมา ช้างมักถูกจับมาจากป่า ถูกนำมาฝึกด้วยวิธีการที่โหดร้าย เพื่อให้เชื่อฟังสั่งของคน 

Q: การยุติการผสมพันธุ์ช้างจะช่วยช้างทั้งหมดที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างไร? เพื่อไม่ให้ช้างรุ่นต่อๆ ไปถูกแสวงหาผลประโยชน์จากมนุษย์อย่างไม่รู้จบ

างเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน เรายังมีเวลาอีกชั่วอายุของพวกเขา ที่จะเริ่มวางแผนเตรียมการเพื่อหยุดวงจรของการนำช้างมาใช้ประโยชน์ในธุรกิสร้างความบันเทิง ด้วยการยุติการเพิ่มจำนวนประชากรช้างที่เกิดมาในภาวะที่ถูกกักขัง สนับสนุนการท่องเที่ยวที่มีจริยธรรม  ขณะเดียวกัน ก็ถึงเวลาของการหาจุดสมดุลระหว่างคนกับช้าง มองหาช่องทางประกอบอาชีพทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ แรงงาน ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวช้าง ให้มองไปข้างหน้าถึงอนาคตที่คนจะเลิกกักขังและใช้ประโยชน์จากช้างเชิงพาณิชย์

 

ตัวอย่างแนวทางที่จะหยุดวงจรการใช้ประโยชน์จากช้าง  

  • ผ่านกฎหมายเพื่อยุติความโหดร้ายทารุณต่อช้างไทย ไม่ให้มีการผสมพันธุ์ช้างเชิงพาณิชย์    
  • ป้องกันและปราบปรามการลักลอบจับช้างออกจากป่า  
  • สนับสนุนปางช้างทั่วประเทศให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจมาเป็นปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้าง คำนึงถึงสวัสดิภาพของช้างขั้นสูง ไม่มีกิจกรรมขี่ช้าง โชว์ช้าง อาบน้ำช้าง หรือการสัมผัสช้างโดยตรง 
  • ควาญช้างสมควรได้รับการสนับสนุน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีโอกาสที่จะประกอบอาชีพทางเลือกอื่นที่ยั่งยืน 
  • สนับสนุนงานรณรงค์เพื่อเปลี่ยนมุมมองสาธารณต่อการใช้ประโยชน์จากช้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในลักษณะที่ยังคำนึงถึงบริบทของวัฒนธรรมไทย
Q: ประเทศไทยมีกฎหมายบังคับให้ยุติการผสมพันธุ์ช้างในภาวะที่ถูกกักขังแล้วหรือยัง?

ยังไม่มี - องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม ตัวแทนเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านการปกป้องสัตว์ นำเสนอร่าง พระราชบัญญัติปกป้องและคุ้มครองช้างไทย หรือ ร่าง พ.ร.บ.ช้างไทยฉบับภาคประชาสังคม เพื่อเป็นกลไกในการปกป้องดูแลสวัสดิภาพช้างไทยอย่างเป็นระบบและครอบคลุม ป้องกันการกระทำที่โหดร้ายทารุณแก่ช้าง ยุติการผสมพันธุ์ช้าง หยุดส่งออกช้าง หรือการครอบครองซากของช้างและผลิตภัณฑ์ช้างซึ่งยังไม่มีกลไกในเชิงกฎหมายเข้ามารองรับ โดยเมื่อปีพ.ศ.2565 ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนชาวไทยผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งกว่า 15,938 ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายไปยังรัฐสภา

 

ขณะนี้ตัวร่างฯ อยู่ที่สำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อรอนายกฯ ลงนาม ก่อนที่จะผ่านเข้าสู่กระบวนการพูดคุยกันในสภา

 

กฎหมายฉบับนี้จะไปต่อได้ต้องการเสียงการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและประชาชน เป็นสิ่งสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อปฏิรูปสวัสดิภาพช้างไทยอย่างแท้จริง