AID

ภูเขาไฟระเบิด Taal เมือง batangus ประเทศฟิลิปปินส์

บล็อก

ระหว่างที่เราเผชิญกับเชื้อโคโรน่าพร้อมฝุ่น PM 2.5 ชาวฟิลิปินส์ในเมือง Batangus ก็ต้องเผชิญกับวิกฤติจากผลกระทบภูเขาไฟระเบิดที่ชื่อ Taal รวมถึงสัตว์ที่เลี้ยงปศุสัตว์เช่น ม้า วัว รวมถึงสัตว์เลี้ยงก็ได้รับผลกระทบนี้ไปไม่น้อยเช่นกัน

Philippine

ภาพภูเขาไฟที่ยังคงระเบิดอยู่ ในฟิลิปปินส์

อัพเดตสถานการณ์จากหมอน๊อต

หมอน๊อต ณฤทธิ์ศร ผลเพิ่ม สัตว์แพทย์หนุ่มจากองค์กรพิทักษ์สัตว์โลก หนึ่งในทีมที่ได้ลงเข้าไปช่วยเหลือประสานงานกับทางทีมที่ฟิลิปปินส์ บอกถึงความยากในการทำงานที่เกี่ยวกับการสถานการณ์พิบัติว่า

“ภูเขาไฟระเบิดโดยทั่วไปไม่มีการเตือนภัย มันยากที่จะรู้ว่ามันจะมาเมื่อไหร่ตอนไหน สิ่งที่เราสามารถจัดการได้ก็คือ การเตรียมความพร้อมและป้องกันภัย สำหรับที่นี ในตอนแรกก่อนจะเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด ทางรัฐบาลได้มีการเตรียมแผนการฝึกอบรมช่วยเหลือสัตว์ในเดือนเมษา แต่ก็ช้าไปเพราะภูเขาดันระเบิดก่อน ก็เลยต้องแคนเซิลกิจกรรมฝึกอบรมเดือนเมษา  ทางทีมเราคือองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection or WAP) ได้ร่วมมือกับรัฐบาล ทำ simulation exercise หรือเรียกว่าการซ้อมความพร้อมด้านภัยพิบัติในเดือนกรกฎาคมปีนี้ ซึ่งทางรัฐบาลเองก็ต้องการเป็นอย่างมาก เพราะเขาให้ความสำคัญในเรื่องเตรียมความพร้อมและถือเป็นเรื่องจำเป็นกับประเทศที่มีความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ กาชาดสากลเองก็เลือกหัวข้อนี้ภายใต้ภัยพิบัติ นั่นคือ เรื่องพายุไซโคลนกับน้ำท่วม เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่เกิดค่อนข้างบ่อย”

AID

สภาพหลังเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด ยังมีอาคารตึกรามบ้านช่อง ที่ยังอยู่สภาพปรักหักพัง

หมอน๊อตยังย้ำกับเราว่าภูเขาไฟเป็นอะไรที่คาดการณ์ได้ยาก เพราะนานๆ เกิดที แต่เมื่อเกิดแล้วก็มีผลกระทบค่อนข้างสูง “ที่ประเทศฟิลิปนส์ คนส่วนใหญ่จะมีอาชีพเลี้ยงปศุสัตว์กัน คือ ม้า หรือวัว เรียกว่าเกิน 90% รายได้ของพวกเขามาจากสัตว์พวกนี้แหละ ที่นี่พอเกิดภูเขาไฟ สัตว์ที่อพยพได้ (หมอน๊อตว่า คือ ม้า หรือวัวที่หนีทัน) แต่สิ่งที่พวกมันต้องเจอ คือโดนขายไปให้กับพ่อค้าคนกลาง เพราะว่าเจ้าของสัตว์เหล่านี้ไม่มีเงินลงทุนในการซื้ออาหารมาเลี้ยงสัตว์เหล่านี้”

AID

รถของพ่อค้าคนกลางที่รับสัตว์ปศุสัตว์

จากที่เคยใช้สัตว์เหล่านี้มาเป็นรายได้ ก็ต้องขายทิ้งเพื่อต้องหาเลี้ยงชีพของตนเอง แต่ว่าเงินที่ได้จากการขายสัตว์กลับไม่ได้เป็นไปตามที่คิด เพราะแทนที่จะได้ขาย 100% ตามราคาของสัตว์ละชนิด ก็ถูกตกลงไป 80% เพราะโดนบีบจากพ่อค้าคนกลาง เมื่อเราถามว่าแล้วสัตว์อื่นๆล่ะ หมอน๊อตตอบว่า

“ก็ถ้าใหญ่กว่านั้น หรือบางตัวที่ล่ามโซ่ไว้ก็ไม่รอด” 

AID

สภาพสัตว์ที่ยังมีเหลือรอดชีวิต ส่วนใหญ่ยังมีสภาพอิดโรย และอดอยาก

แล้วเพราะอะไรถึงได้กลายเป็นแบบนี้?

หมอน๊อตบอกว่าเพราะการจัดการในขณะที่เกิดภัยพิบัติก็ยังไม่ดีพอ และไม่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้สัตว์ที่อพยพไม่ทัน โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ เช่น ม้า วัว  ก็ตายหมด บางตัวเจ็บป่วย และมีอาการบาดเจ็บ ซึ่งมีสัตว์ประมาณเกือบห้าพันตัว ที่เป็นสัตว์ปศุสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้

AID

หมอน๊อตและทีมช่วยเหลือในพื้นที่

“สุนัขบางตัวที่รอดมาได้ก็โดนผูกโซ่ เกือบทุกตัว อยู่ในสภาพอิดโรย ไม่มีอาหารเข้าถึง พวกเราทีม WAP  ได้เข้าไปทำการช่วยนำอาหารเข้าไปให้กับสัตว์ที่ในพื้นที่ ตอนนี้สถานการณ์คลี่คลายตามลำดับจากเหตุการณ์ตอนแรก ๆ แต่ยังมีพื้นที่ต้องห้ามสำหรับการเข้าไปช่วยเหลือ เราคาดการณ์ไม่ได้เลยว่าภูเขาไฟ จะดับสนิทเมื่อไหร่ แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่หน่วยสัตว์แพทย์ก็มีการนำเอาอาหารเข้าไปในพื้นที่ส่วนอื่น ๆด้วยเช่นกัน” หมอน๊อดกล่าว

นอกจากนี้ หมอน๊อตยังได้ไปเยี่ยมสัตว์ที่ได้รับการช่วยเหลือ และมีแพะตัวหนึ่งได้พยายามเข้ามาทักทายทีมงาน น้องแพะนี้ถูกช่วยเหลือให้รอดจากภูเขาไฟระเบิด และนำมาอยู่ศูนย์พักพิงชั่วคราว

AID

ภาพแพะที่มาต้อนรับหมอน๊อต

จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ สรุปส่งท้ายที่คุณหมอน๊อตบอกกับเราคือ การที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน นั่นก็คือ ภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงเจ้าของสัตว์ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ และมีการพยายามเข้ามาช่วยอย่างเต็มกำลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจกับคุณหมอน๊อต “มันเป็นเรื่องที่ดีจริง ๆ เพราะในขณะที่ทุกคนพยายามเอาตัวรอด ก็ยังไม่ทิ้งสัตว์ไว้เบื้องหลัง”

 

สำหรับแผนในอนาคตมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการเตรียมการและการอพยพปศุสัตว์ เพื่อมั่นใจว่าสัตว์เหล่านี้จะไม่ถูกลืมและถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

 

#dontforgetthem