AMR petition delivery

“หวั่น” วิกฤตเชื้อแบคทีเรียดื้อยาไม่ลด ยอดคนไทยเสียชีวิตพุ่งเกิน 4 หมื่นกว่าคนต่อปี

ข่าว

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ภาคีเครือข่าย ร่วมแถลงการณ์จี้กรมปศุสัตว์ ร้องหยุดเชื้อดื้อยาและพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ อย่างเป็นรูปธรรมทันที

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย  (World Animal Protection) ส่งท้ายแคมเปญ บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึด สู้ เพื่อสัตว์ฟาร์ม” ผนึกภาคีเครือข่าย เดินหน้าเข้าพบ นายสัตวแพทย์ รักไทย งามภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ พร้อมส่งมอบรายชื่อประชาชนเรียกร้องการหยุดเชื้อดื้อยาและพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ให้ดีขึ้น

แคมเปญ บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึด สู้เพื่อสัตว์ฟาร์ม” เป็นกิจกรรมที่องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย พร้อมภาคีเครือข่ายต่างๆ จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อเนื่องตลอดเดือนพฤศจิกายน ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็น World Antimicrobial Awareness Week (สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพโลก) เพื่อเน้นย้ำถึงวิกฤติเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ผ่านกิจกรรมพายซับบอร์ด โดยนำร่อง แม่น้ำ สายแรกแม่น้ำบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2566 และในวันที่ 11 พ.ย. 2566 ล่องแม่น้ำสายที่สอง แม่น้ำนครชัยศรี  จ.นครปฐม และปิดท้ายกิจกรรมในวันที่ 21 พ.ย. 2566 โดยเข้าพบ นายสัตว์แพทย์ รักไทย งามภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ เพื่อกล่าวแถลงการณ์และส่งมอบรายชื่อประชาชน 15,000 คน ร่วมเรียกร้องการหยุดเชื้อ ดื้อยาและพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ให้ดีขึ้นโดยด่วน พร้อมรณรงค์เชิงสัญลักษณ์ โดยทีมซัพบอร์ด และเรือพร้อมป้ายข้อความ หยุดเชื้อ ดื้อยา พัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์ม” ในแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากท่าเรือ สน.บางโพ ผ่านรัฐสภา วัดอรุณราชวรารามฯ สะพานพุทธ ยอดฟ้า มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และสิ้นสุดที่สะพานพระรามแปด

Handover petition to DLD

รายงานล่าสุดขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย ในเดือน ต.ค. 2566 ยังคงพบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในแหล่งน้ำ สาธารณะ และบริเวณ ฟาร์มอุตสาหกรรรม อาทิ ฟาร์มสุกร และฟาร์มไก่ ใน จ.นครราชสีมา .ฉะเชิงเทรา และ จ.นครปฐม ซึ่งเป็นที่น่าวิตกอย่างยิ่งที่ผลตรวจเชื้อแบคทีเรียดื้อยานั้นไม่ต่างจาก 4 ปีก่อน ที่ยังคงพบเชื้อดื้อยา เช่น E.coli และ Klebsiella อยู่ใน กลุ่มยาที่นิยมใช้ในฟาร์มอุตสาหกรรม เช่น Ampicillin, Amoxy-clavulanate และ Tetracycline ซึ่งเป็นยากลุ่มเดียวกับที่ใช้ รักษาโรคผู้ป่วยที่ติดเชื้อต่างๆ เช่น ในทางเดินปัสสาวะ หลอดลม อักเสบ ภาวะติดเชื้อที่หู ในกระแสเลือด รวมถึงการติดเชื้อทาง เพศสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งหากคนได้รับเชื้อดื้อยาและเจ็บป่วยจากโรค ดังกล่าว อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล และล่าสุดข้อมูลจากวารสารการแพทย์ The Lancet เผยผลการสำรวจใหม่ ชี้ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาในประเทศไทยพุ่งสูงถึงปีละ 43,855 คน หรือมีคนไทยเสียชีวิตถึง คนในทุก ๆ ชั่วโมง ในขณะที่ยาปฏิชีวนะยังถูกใช้อย่างมหาศาลในฟาร์มอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนสวัสดิภาพสัตว์ที่เลวร้าย

โชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญระบบอาหาร องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า

แม้ว่า ประเทศไทยจะ มียุทธศาสตร์ชาติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ แต่วิกฤตการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาจากฟาร์มสัตว์ ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับผล การตรวจหาแบคทีเรียดื้อยาที่สำคัญจากสิ่งแวดล้อมบริเวณฟาร์มเลี้ยงสุกรและไก่ เดือนตุลาคม 2566” ในครั้งนี้ ยังคบพบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่น่ากังวลอย่างยิ่งและแทบไม่ได้ลดลงจากการตรวจเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา การพบเชื้อเหล่านี้ก่อความกังวลต่อสุขภาพและชีวิตของประชาชนในพื้นที่รอบๆ ฟาร์มอุตสาหกรรม ซึ่งบ่งชี้ว่าสวัสดิภาพสัตว์ที่ย่ำแย่ ต้อตอสำคัญของการใช้ยาปฏิชีวนะแบบเกินความจำเป็นในฟาร์ม ยังคงไม่ได้รับความสำคัญและเป็นวาระแห่งชาติ อีกทั้งยัง ขาดความ มุ่งมั่นในระดับนโยบายและทางการเมืองที่จะลงมือจัดการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนและจริงจัง เพียงการส่งเสริมให้มีการ ใช้สารทดแทน ยาปฏิชีวนะไม่ได้แปลว่าสวัสดิภาพสัตว์จะดีขึ้น ทางองค์กรฯ และเครือข่าย จึงเรียกร้องให้รัฐและผู้กำหนดนโยบายให้มุ่งพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์ม และเร่งบังคับใช้กฎหมายการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรค เพื่อแก้ไขถึงวิกฤตด้านสุขภาพที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่”

Sup board Protest

โรจนา สังข์ทอง ผู้อำนวยการองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า

“ปัญหาเชื้อดื้อยาที่พวกเราเผชิญอยู่ในขณะนี้ ไม่ได้เป็นแค่วิกฤตระดับชาติ แต่จะกลายเป็นหายนะของมนุษย์โลกได้ หากเรายังไม่สามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงใจในทุกภาคส่วน เราอาจเคยเข้าใจกันว่าเชื้อดื้อยามาจากการรับประทานยาปฏิชีวนะมากเกินไปหรือรับประทานยาไม่ครบตามขนาด แต่จากการทำงานขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกที่ผ่านมาพบว่า 3 ใน 4 ของยาปฏิชีวนะทั้งหมดที่ใช้ในโลกถูกใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์  และประมาณร้อยละ 40-80 ของการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์นั้นเป็นการใช้โดยไม่จำเป็น การยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน สุขภาพของสัตว์ในระบบฟาร์มอุตสาหกรรมเชื่อมโยงกับสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง ฟาร์มที่มีการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี จะส่งผลให้สัตว์ไม่เครียดและมีสุขภาพแข็งแรง และจะลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็นลงได้”

โชคดี กล่าวปิดท้ายว่า

เราเห็นว่าการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ให้สูงขึ้น ไม่ได้เป็นเพียงข้อเรียกร้องทางด้านจริยธรรมและมนุษยธรรมเท่านั้น แต่เพื่อให้เกิดระบบอาหารที่ส่งผลดีต่อทั้งสัตว์ สุขภาพของคน ตลอดจนสิ่งแวดล้อม เราจะยังคงติดตามและทำงานร่วมกับภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมปศุสัตว์ เพื่อยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มให้ได้มาตรฐาน เพื่อนำไปสู่ระบบอาหารที่เป็นธรรมและยั่งยืน

AMR Protest at Chaopraya River

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกและเครือข่าย เรียกร้องให้รัฐบาลไทย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทโดยตรงในเรื่องนี้ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้โดยเร่งด่วน

  1. ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์มในมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ให้สูงขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำด้านสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม (FARMS – Farm Animals Responsible Minimum Standard)[1] และมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด

 

  1. ทบทวนแนวทางการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 โดยบรรจุประเด็นการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อแก้ไขวิกฤติเชื้อดื้อยา

 

  1. มีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มสัตว์อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่ม ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่จำเป็นและนำไปสู่การเกิดเชื้อดื้อยาในฟาร์มและแพร่กระจายสู่ภายนอก

 

  1. จัดให้มีนโยบายส่งเสริมฟาร์มทางเลือกของเกษตรกรรายย่อย เพื่อให้เกิดการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มาจากแหล่งที่มีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี และราคาเป็นธรรมในท้องถิ่น
 
More about