ชูความสำคัญของมาตรการเร่งด่วนด้านสวัสดิภาพสัตว์เพื่อแก้ไขวิกฤติภัยแบคทีเรียดื้อยา
ข่าว
ในการประชุมระดับโลกที่องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ณ ประเทศสวีเดน ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ทางออกเดียวของแก้ไขวิกฤตแบคทีเรียดื้อยา (AMR) ที่กำลังทวีความรุนแรงอยู่ทั่วโลกนั้นคือการจัดการกับสวัสดิภาพสัตว์ในอุตสาหกรรมฟาร์มที่ย่ำแย่ในปัจจุบัน
การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นในฟาร์ม
ส่งผลให้เกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาขึ้น (เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซุปเปอร์บั๊ก Superbug) ปัจจุบัน 75% ของยาปฏิชีวนะที่ใช้กันทั่วโลก ถูกใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้ออกมาเรียกร้องให้มีมาตรการเร่งด่วนต่อเรื่องนี้(*)
เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลกอย่างร้ายแรงที่สุด ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ว่าหากไม่มีการกำหนดนโยบายเพื่อจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างจริงจัง ภายในปีพศ. 2593 จะมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากภัยแบคทีเรียดื้อยามากถึง 10 ล้านคนต่อปี
ผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมประชุมครั้งนี้ เป็นสมาชิกของเครือข่าย 3Ts Alliance ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ในปีพ.ศ.2562 สมาชิกเครือข่ายประกอบไปด้วยบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงสุกร นักวิจัย และองค์กรภาคประชาสังคม ตลอดจนภาคส่วนอื่นๆที่มีความสนใจด้านแบคทีเรียดื้อยา โดยเครือข่ายมีการทำงานร่วมกันเพื่อแสวงหาแนวทางเพื่อยุติขั้นตอนการตัดตอนอวัยวะที่สร้างความเจ็บปวดให้กับลูกหมู ได้แก่การตัดหาง การกรอฟัน และการทำหมันด้วยการตอน
ขั้นตอนการตัดตอนอวัยวะที่สร้างความเจ็บปวดให้กับลูกหมูเหล่านี้ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่นำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น การปรับปรุงสภาพการเลี้ยงภายในฟาร์ม เพิ่มพื้นที่เลี้ยงเพื่อให้สัตว์สามารถเคลื่อนไหวได้ ปราศจากกระบวนการที่สร้างความเจ็บปวด รวมไปถึงโอกาสให้สัตว์ได้แสดงออกพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ ล้วนแล้วจะนำไปการที่สัตว์จะมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ยังเป็นการลดความต้องการในการใช้ยาปฏิชีวนะอีกด้วย
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้นำเสนอกรณีศึกษาของภาคธุรกิจ แบ่งปันความสำเร็จ: กรณีศึกษาภาคธุรกิจเพื่อการยกระดับสวัสดิภาพสุกรขุน เพื่อแสดงให้เห็นว่าบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งได้แสดงความรับผิดชอบในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะภายในฟาร์ม โดยยุติขั้นตอนที่สร้างความเจ็บปวดต่อลูกหมูเช่นการตัดหาง กรอฟัน และการผ่าตัดทำหมัน
เครือข่าย 3Ts Alliance ได้มีข้อตกลงที่จะสร้าง ช่องทางการสื่อสาร ที่ได้พัฒนาขึ้นและเปิดตัวไปในปีนี้ โดยมีเป้าหมายว่าภายในปีพ.ศ. 2563 ข้อมูลเหล่านี้จะถูกใช้เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารของโลก ให้คำมั่นในการลดขั้นตอนที่สร้างความเจ็บปวดเหล่านี้ นอกจากนี้ยังเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้ค้าปลีกต้องเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหานี้ โดยพัฒนาเรื่องความโปร่งใสและรับผิดชอบต่อผู้บริโภคในด้านมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่จำหน่าย
Jenny Lundstrom สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสวีเดน กล่าวว่า
“มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ที่สูง มีความเชื่อมโยงต่อการใช้ยาปฏิชีวนะปริมาณที่ต่ำในฟาร์ม และมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งหากที่ผู้ค้าปลีกจะตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างความรับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทาน”
“ประเทศสวีเดนได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้จริง และสามารถเป็นต้นแบบให้ประเทศอื่นๆเรียนรู้ได้”
ศุภวัฒน์ สุปัญญารักษ์ จากซีพีฟู้ดส์ (CP Foods) กล่าวว่า
“เนื่องจากเราเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสุกรรายใหญ่ที่สุดของโลก เรามีหน้าที่ในการรักษามาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ไว้ในระดับสูง รวมไปถึงการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบ”
“เรามีความภาคภูมิใจในการทำงานที่มุ่งมั่นจะยุติการเลี้ยงแม่สุกรในระบบกรงขัง ตลอดจนนโยบายเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะของเรา เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้การสนับสนุนเครือข่าย 3Ts Alliance อย่างต่อเนื่อง ในการยุติขั้นตอนที่สร้างความเจ็บปวดต่อลูกหมู ตามแนวทางที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก”
“ซีพีฟู้ดส์ (CP Foods) ตั้งเป้าที่จะขยายการดำเนินงานในประเทศไทย เพื่อให้สุกรได้มีโอกาสแสดงออกพฤติกรรมตามธรรมชาติและหลีกเลี่ยงขั้นตอนที่สร้างความเจ็บปวดต่างๆ”
(*) การประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 68 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2558 สมัชชาอนามัยโลกได้ร่วมลงนามในแผนการดำเนินการทั่วโลก เพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อของเชื้อจุลชีพที่มีต่อยาปฏิชีวนะ รวมไปถึงแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นแนวโน้มเชื้อโรคดื้อยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนมากที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม