submit open letter

ภาคีเครือข่ายองค์กรด้านสวัสดิภาพสัตว์ร่วมยื่นหนังสือเรียกร้องจัดตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมทวงถามความเป็นอยู่ของช้างไทยในต่างแดน

ข่าว

"เราเชื่อว่าความเจริญของประเทศไม่ได้วัดจากเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงจริยธรรมและการปฏิบัติต่อสัตว์ด้วย"

วันที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ. 2567

เรียน ประธานคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ขอให้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหาสวัสดิภาพภาพสัตว์ในประเทศไทย

ตั้งแต่ประเทศไทยมีการเลือกตั้ง ยังไม่มีรัฐบาลชุดไหนให้ความสนใจที่จะแก้ปัญหาสวัสดิภาพของ สัตว์ในประเทศไทยอย่างจริงจังและจริงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคการเมืองส่วนใหญ่ต่างให้เหตุผลว่าปัญหา ประชาชนต้องมาก่อน ดังนั้นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสัตว์จึงถูกละเลย หมักหมม ซุกซ่อนปัญหามาเป็นเวลา ยาวนาน โดยทุกยุคทุกสมัยของรัฐบาลที่ผ่านมาได้ให้เหตุผลว่าปัญหาสัตว์ไม่เกี่ยวกับคน แต่ข้อเท็จจริงแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกิดจากการละเลยการดูแลชีวิตสัตว์ ส่งผลโดยตรงต่อพลเมืองโดยรวม ไม่ว่าทั้งในเรื่อง สุขภาพ เศรษฐกิจ ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ความเจริญก้าวหน้าของประเทศไม่อาจวัดโดยความเจริญ ทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงจริยธรรมและวิธีการปฏิบัติต่อสัตว์ของคนในชาติด้วย

การละเลยในการแก้ไขปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ ทำให้เกิดการระบาดของโรคต่าง ๆ ที่สามารถ ส่งผลกระทบต่อประชาชนได้ การสูญเสียจำนวนสัตว์เลี้ยงในฟาร์มปศุสัตว์ในรอบหลายปีที่ผ่านมาจาก โรคระบาด เช่นการล้มตายของวัวจากโรคปากเท้าเปื่อย โรคลัมปีสกิน โรคไข้หวัดหมู ไข้หวัดนก ต่างส่งผล กระทบต่อเกษตรกร สร้างความความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ

โรคอุบัติใหม่อย่าง กาฬโรคม้า ที่เข้ามาระบาดในประเทศไทยเมื่อปี 2564 ได้คร่าชีวิตม้าไปหลาย ร้อยตัวในเวลาอันสั้น รวมทั้งโรคโควิด ซึ่งก็เกิดจากสัตว์เช่นกัน ทั้งนี้เกิดมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของ รัฐบาลที่ปล่อยให้โรคดังกล่าวเข้าสู่ประเทศโดยไม่มีการตั้งรับกับปัญหาและหาทางป้องกันแก้ไข

การบริหารจัดการในเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ของรัฐบาลที่ผ่านมาล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการจัดเตรียมวัคซีน การตั้งทีมดูแลแก้ปัญหาสัตว์ ไม่มีการจัดตั้งทีมทำงานเพื่อตั้งรับในการแก้ปัญหา เหล่านี้ การบริหารงานแบบไร้ประสิทธิภาพ ส่งผลให้วัคซีนที่จะนำมาใช้กับสัตว์ขาดแคลนไปทั่วประเทศ ยกตัวอย่างเช่น วัคซีนโรคลัมปีสกินในวัว ที่ไม่สามารถจัดหาได้ทันท่วงทีก่อนการระบาด ปล่อยให้สัตว์ล้มตาย เป็นจำนวนมาก กว่าจะรีบจัดหาวัคซีนมาฉีดให้สัตว์

การขาดแคลนในเรื่องวัคซีนหลายชนิดของสุนัขในรอบหลายปีที่ผ่านมา และการนำวัคซีนที่ไร้ ประสิทธิภาพมาใช้ ได้ส่งผลให้โรคพิษสุนัขบ้าที่หายไปจากประเทศไทยในหลายสิบปี กลับมาระบาดในประเทศ ไทยอีกครั้งในหลายพื้นที่ ในขณะนี้การระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าที่กำลังเป็นระเบิดลูกใหม่ไล่ตามหลังรัฐบาล ชุดนี้และอาจจะส่งผลกระทบที่ไม่อาจคาดคิด ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและจะส่งผลอย่างร้ายแรง ต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ของประเทศ

นอกจากนี้รัฐบาลหลายสมัยที่ผ่านมา ยังล้มเหลวในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายต่อการค้าสัตว์ป่า การทารุณกรรมสัตว์ ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากการแก้ไข ส่งผลให้ประเทศไทย กลายเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มที่ถูกจับตามองจากนานาชาติ การนำเข้าสัตว์ป่า การปล่อยให้มีการค้าสัตว์ป่าใน ประเทศโดยไม่มีการควบคุมอย่างชัดเจน  การปล่อยให้มีการใช้สัตว์ป่าแบบไม่เหมาะสมในประเทศ เช่นการ

ปล่อยให้มีการใช้สัตว์ป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยง การทารุณกรรมช้างและสัตว์นานาชนิดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ถูกวิพากวิจารณ์และประฌามจากทั่วโลก โดยรัฐบาลไทยแต่ละยุคแต่ละสมัยไม่เคยใส่ใจในการแก้ไขกับ ปัญหาดังกล่าว

ในต่างประเทศ อย่างเช่น ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รัฐบาลจะให้การสนับสนุนส่งเสริม การทำงานของภาคประชาชนในการทำงานร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเรื่องสัตว์ในประเทศ แต่ตรงกันข้ามกับใน ประเทศไทย ที่รัฐบาลไทยไม่เคยให้ความสำคัญกับเสียงของประชาชน และทางภาคประชาชนได้พยายาม หาทางแก้ปัญหากันเอง ออกงบประมาณส่วนตัวในการช่วยเหลือสัตว์ ประสานความร่วมมือกันเองในกลุ่ม คนทำงานภาคประชาน

การขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่สามารถบรรลุผล สำเร็จได้ กลุ่มภาคีเครือข่ายองค์กรสวัสดิภาพสัตว์ ที่ทำงานเพื่อช่วยเหลือสัตว์ในประเทศไทย รู้สึกผิดหวังมาก ต่อการทำงานที่ขาดความจริงใจจากรัฐบาล

การเดินทางมายื่นข้อเรียกร้องของภาคีเครือข่ายองค์กรสวัสดิภาพสัตว์ในวันนี้ ซึ่งประกอบด้วย มูลนิธิ สมาคม องค์กร และกลุ่มคนรักสัตว์ จึงมาเรียกร้องให้รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาในการ แก้ไขปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ตามข้อเรียกร้องที่อยู่ตามเอกสารข้างท้ายนี้

ข้อเสนอและเรียกร้อง

  1. ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม กฎหมาย ป้องกันการทารุณกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทกำหนดโทษ ของกฎหมาย โดยให้มีบทกำหนดโทษขั้นต่ำให้เป็นบรรทัดฐานต่อการตัดสินวินิจฉัยของศาลซึ่งเป็นกระบวนการ ยุติธรรมขั้นสูงสุด เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการป้องปรามให้คนเกรงกลัวต่อการบังคับใช้กฎหมาย
  2. ตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ในประเทศไทยโดยตรง โดยมีการจัดตั้ง คณะกรรมาธิการ หรืออนุกรรมาธิการที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ ทำหน้าที่พิจารณาปัญหาสัตว์ใน ประเทศไทย ทั้งสัตว์เลี้ยง สัตว์จรจัด สัตว์เศรษฐกิจในฟาร์มปศุสัตว์ สัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์ป่า และสัตว์นำเข้า ส่งออก สัตว์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมอาหาร เช่นการใช้ลิงเก็บ มะพร้าวเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  3. จัดตั้งหน่วยงานที่ทำงานโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น หน่วยตำรวจปราบปรามและ ช่วยเหลือสัตว์ (Animal Cops) จัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อช่วยเหลือและกู้ภัยสัตว์ รวมถึงให้องค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ปีพ.ศ. 2563 ในการดูแลรับผิดชอบสัตว์ในพื้นที่ เช่น จัดตั้งกองจัดการสวัสดิภาพของเทศบาล ตำบล หรือ อบต. ในทุกท้องถิ่น เพื่อควบคุมและป้องปรามการทารุณกรรมสัตว์ในท้องที่ของตน และรวมถึงการจัดตั้ง คลินิกสัตว์ในชุมชนเพื่อให้การรักษาพยาบาลสัตว์ที่ได้รับอุบัติเหตุหรือทารุณกรรมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายและให้เป็น งบในความรับผิดชอบขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ
  4. ตั้งนโยบายเพื่อความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสัตว์ในประเทศระหว่างหน่วยงานรัฐและ เอกชน ทั้งนี้เพื่อให้งานการช่วยเหลือสัตว์เกิดความคล่องตัว ลดช่องว่างและปัญหาความขัดแย้งของการทำงาน และทำให้งานการแก้ไขปัญหาสัตว์ในประเทศไทยเกิดความสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น
  5. ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ข้อบังคับและกฎกระทรวง ที่ว่าด้วยการนำเข้าและส่งออกสัตว์ให้เข้ากับ โลกยุคโลกาภิวัตน์ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาโรคอุบัติใหม่ที่จะนำเข้าจากต่างประเทศ การนำเข้าสัตว์แบบไร้การ ควบคุมทำให้เกิดสัตว์ต่างถิ่น (Alien species) เข้ามาอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าในป่า ในแม่น้ำ หรือตามชุมชน ของประเทศไทย โดยสัตว์ต่างถิ่นเหล่านั้นได้เข้ามาทำร้าย ทำลาย สัตว์พื้นเมืองของประเทศและทำลายระบบ นิเวศน์วิทยาในประเทศไทย ถ้าไม่มีการควบคุมจะส่งผลกระทบอย่างควบคุมไม่ได้ในอนาคต อย่างเช่น การนำ ผึ้งเพชฌฆาตเข้ามาในไทย ปลาช่อนบราซิล อีกัวน่า งูหลามยักษ์ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์อีกหลากหลายสายพันธุ์ และปลาหมอคางดำ ตามที่เป็นข่าวในขณะนี้
  6. ให้ภาครัฐ เพิ่มการเผยแพร่ อบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน ในท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถแก้ไขปัญหาที่มาจากสัตว์ได้ ไม่ว่าเรื่องสัตว์จรจัด หรือ โรคระบาด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากที่กล่าวมา เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าปัญหาสัตว์ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชน ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพต้องมีการบริหารจัดการควบคู่ไปกับการดูแล สวัสดิภาพในประเทศ ในปัจจุบันสังคมโลกต่างให้ความสำคัญต่อปัญหาสัตว์และสิ่งแวดล้อม ในนาม ภาคีเครือข่ายองค์กรสวัสดิภาพสัตว์ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้หันมาให้ความสำคัญ และตั้งใจแก้ไขปัญหา อย่างจริงจัง

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถือ

นายโรเจอร์ โลหนันทน์ สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทย

นางสาว แสงเดือน ชัยเลิศ ประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ดร. ยุวนุช เกียรติวงศ์ ผู้ประสานงานกลุ่มทวงคืนช้างไทย

นางสาว ภูริตา วัฒนศักด์ มูลนิธิวอชด็อกไทยแลนด์ คุณวรรณทัศน์ แสงดารา มูลนิธิวอชด็อกไทยแลนด์ คุณรัตติยา เตียวตระกูล มูลนิธิวอชด็อกไทยแลนด์

คุณฐิวารี วีรยะสบประสงค์ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย นางประหยัด วรปรีชา ประธานมูลนิธิเสียงเพื่อสัตว์

คุณสุชัญญา แสงสว่าง องค์กรเพื่อสวัสดิภาพสัตว์แห่งประเทศไทย คุณเบญจศิริ วัฒนา ประธานมูลนิธิรักษ์สัตว์ป่า

พระมหาวิชัย อคคเตโช เจ้าอาวาสวัดเวฬุวนาราม ลำปาง นายทศพร หาญประเสริฐ วัดเวฬุวนาราม ลำปาง

นายธีร์ธานิศ เสถียรทิพย์ เครือข่ายช่วยเหลือสัตว์ ภาคประชาสังคม คุณพุฒิพร จีวิพันธ์พงษ์ เครือข่ายช่วยเหลือสัตว์ ภาคประชาสังคม

More about