สัตว์ป่านับพันต้องทนทุกข์ทรมานจากการแสวงผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง
💔 ถูกบังคับให้แสดงโชว์
💔 ถูกจับแยกกับครอบครัว
💔 ถูกบังคับผสมพันธุ์ในกรงเลี้ยง
💔 ถูกกักขังจำกัดอิสรภาพ
💔 ถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยยังคงมีการนำสัตว์ป่ามาเพื่อสร้างความบันเทิงอยู่ เป็นการสร้างความทรมานสัตว์ทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างยั่งยืนอีกด้วย
หากไม่ร่วมหยุดการนำสัตว์ป่ามาสร้างความบันเทิง เราอาจจะต้องเจอกับภาวะ:
- สัตว์ป่ายังต้องตกอยู่กับการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ
- การอนุรักษ์สัตวป่าที่ยั่งยืนจะถูกคุกคาม
- เป็นการเปิดช่องว่างในการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย เช่น การขายอวัยวะสัตว์ป่าในตลาดมืด
- ชื่อเสียงของประเทศไทยอาจมีภาพลักษณ์ในเชิงลบต่อสายตาชาวโลก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่อาจเกิดความเสียหายได้
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับช้างไทย
ประเทศไทยจัดเป็นศูนย์กลางในการใช้สัตว์ป่าในธุรกิจท่องเที่ยวและความบันเทิง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมานานหลายปี สัตว์ป่าที่นิยมมากที่สุด คือช้างและเสือที่ถูกนำเป็นจุดขายอย่างน่าสงสาร
เรามีช้างไทยมากกว่า 3,000 ตัวที่ถูกนำมาในธุรกิจท่องเที่ยว พวกมันจะถูกฝึกตั้งแต่ยังเล็ก ช้างเด็กจะถูกพรากจากแม่ของมันตั้งแต่ยังเล็ก ส่วนช้างวัย 4 ปีขึ้นไปจะถูกกักขัง เฆี่ยนตี ล่ามโซ่ และต้องทำงานๆทุกวันเพื่อการแสดงโชว์ โดยที่พวกมันไม่ได้มีโอกาสใช้ชีวิตตามแบบวิถีของช้างเลย
ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติของไทย และอยู่คู่กับคนไทยมานาน พวกมันมีความสำคัญทั้งทางวัฒนธรรม สังคมและเศรษฐกิจ แต่พวกมันกลับถูกละเลย ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายครอบคลุมเรื่องการอนุรักษ์และสวัสดิภาพช้างอย่างเต็มรูปแบบ เช่นเดียวกันกับเสือที่ยังขาดกฎหมายห้ามการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยง
ปัญหาของเสือในประเทศไทย
ปัจจุบันในประเทศไทยมีเสือในกรงเลี้ยงกว่า 1,500 ตัวซึ่งไม่ใช่พันธุ์พื้นเมืองของไทย พวกมันไม่ได้ถูกจับผสมพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า หากแต่เป็นการเพิ่มจำนวนเพื่อป้อนเข้าสู่ธุรกิจการสร้างความบันเทิงเท่านั้น
เสือในกรงเลี้ยงจะต้องใช้ชีวิตในกรงอยู่ตลอดเวลาหรือถูกล่ามโซ่ตลอดเวลา ซึ่งขัดแย้งกับธรรมชาติของพวกมันมันที่แท้จริงแล้วจะต้องอยู่ในป่า ตามธรรมชาติของเสือจะต้องเดินวันละหลายสิบกิโลเมตร แต่นี่พวกมันต้องถูกบังคับให้แสดงโชว์และถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยว
ที่น่าเศร้าไปกว่านั้น เสือยังต้องถูกเกี่ยวข้องในขบวนการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย โดยมีการนำอวัยวะของเสือไปขายในตลาดมืดด้วย อย่างกรณีวัดเสือที่เคยเป็นข่าวดังในปี 2559 ที่มีการเพาะพันธุ์เสือโคร่งในกรงจาก 2 ตัวเพิ่มเป็น 147 ตัวด้วยการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด (หรือผสมพันธุ์กันในครอบครัวเดียวกัน) และการเลี้ยงดูที่ไม่ดีอันเป็นสาเหตุให้พวกมันต้องตายไปถึงกว่า 80 ตัว
ยุติการผสมพันธุ์เสือเชิงพาณิชย์
ร่วมปกป้องสัตว์ป่าจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
เพราะสัตว์ป่าควรคู่ที่จะอยู่กับป่า เราขอสัญญาว่าเราจะปกป้องสัตว์ป่าโดย:
- เราจะเห็นความสำคัญของสัตว์ป่า ว่าสมควรที่จะต้องอยู่ในป่า
- เราจะไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ใช้สัตว์ป่าเพื่อสร้างความบันเทิง
- เราจะบอกเรื่องราวนี้ต่อกับคนอื่นๆ ถึงความสำคัญของสัตว์ป่าไทยที่ควรจะต้องอยู่กับป่าและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม