องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย
You are here:
Showing 1 to 4 of 4 results
Loading
An error occurred. Please try again
No Results Found
บล็อก
ฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์
การนำช้างมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตามปางช้างต่างๆ โดยขาดการดูแลช้างอย่างเหมาะสม เป็นปัญหาที่มีมาต่อเนื่องยาวนานในประเทศไทย ปัญหายิ่งทบทวีคูณขึ้นไปอีกจากการถูกกระหน่ำซ้ำเติมในช่วงสถานการณ์ที่เชื้อโควิด-19 แพร่ระบาด ทั้งการขาดนักท่องเที่ยว ขาดรายได้ ประจวบกับวิกฤติการสภาวะภูมิอากาศแห้งแล้ง ที่ทำให้อาหารตามธรรมชาติหาได้ยากยิ่งขึ้น เมื่อปางช้างไร้ทางออก ช้างย่อมจะรอดพ้นจากวิกฤติไปไม่ได้ ทำให้ต้องเผชิญทั้งเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร และโอกาสที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของช้างให้ดีขึ้นล้วนดูริบหรี่
คนรักช้างหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าการไปท่องเที่ยวตามปางช้างทั่วไป ส่วนใหญ่มักเป็นการสนับสนุนความโหดร้ายทารุณต่อช้างทั้งทางตรงและทางอ้อมหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ปัญหากระบวนการฝึกที่รุนแรง สภาพความเป็นอยู่ย่ำแย่ ไปจนถึงการที่ช้างถูกบังคับให้แสดงพฤติกรรมผิดธรรมชาติเพื่อความบันเทิงของนักท่องเที่ยว และอื่นๆ อีกมากมาย
จากการรณรงค์เรื่องความโหดร้ายทารุณต่อสัตว์ป่าในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ผลการสำรวจของเราพบว่าปัจจุบันนักท่องเที่ยวมีความตื่นตัวเรื่องสวัสดิภาพสัตว์กันมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากกิจกรรมการดูโชว์ช้างและการขี่ช้างที่ได้รับความนิยมลดลงอย่างต่อเนื่อง
พูดถึงการผสมพันธุ์ช้าง ฟังแบบผิวเผิน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยขยายพันธุ์ช้าง ส่งเสริมการอนุรักษ์ แต่ความเป็นจริงแล้วกลับไม่ใช่เลย